วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประของจังหวัดเชียงราย

ประวัติจังหวัดเชียงราย

ที่ตั้ง
อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ในภาคเหนือตอนบนห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 785 กม.

พื้นที่
11,678.369 ตร.กม.

อาณาเขต
ทิศเหนือ -ประเทศพม่า และลาว
ทิศใต้ -จ. ลำปาง และ จ. พะเยา
ทิศตะวันออก -ประเทศลาว
ทิศตะวันตก -จ. เชียงใหม่และประเทศพม่า

แม่น้ำ แม่น้ำสำคัญมีดังนี้
แม่น้ำกก มีความยาวตลอดสาย 145 กม.
แม่น้ำโขง มีความยาวตลอดสาย 94 กม.
แม่น้ำอิง มีความยาวตลอดสาย 100 กม.
แม่น้ำคำ มีความยายตลอดสาย 85 กม.
แม่น้ำลาว มึความยาวตลอดสาย 117 กม.
แม่น้ำสาย เป้นแม่น้ำสารวั้น ๆ ไหลผ่าน อ. แม่สายแบ่งเขตแดนระหว่างไทยและพม่า
แม่น้ำรวก เป็นแม่น้ำสายสั้นที่ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บ้านสบรวก อ. เชียงแสน

ภูมิอากาศ แบ่งเป็นสามฤดู
ฤดูร้อน -กลางเดือนมี.ค ถึงกลางเดือน พ.ค. อุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้คือ 41.3 ซ. อากาศอบอ้าวและแห้งแล้ง อาจมีพายุฝนฟ้าคะนองในฤดูร้อนเกิดขึ้นในช่วงเดือน เม.ย
ฤดูฝน -กลางเดือน พ.ค. ถึงกลางเดือน ต.ค. มีฝนตกชุกในช่วงเดือน ส.ค. และ ก.ย. มีพายุหมุนเขตร้อนพัดเข้ามาสู่ภาคเหนือตอนบน ซึ่งทำให้ฝนตกชุกมากกว่าปกติหรือเกิดน้ำท่วมฉับพลัน
ฤดูหนาว -กลางเดือน ต.ค. ถึงกลางเดือน ก.พ. เมื่อลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าสู่ประเทศไทยประมาณ 4 เดือน อากาศหนาวจัดในช่วงเดือน ธ.ค. และ ม.ค. โดยเฉพาะในเขตเทือกเขา อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ คือ 1.5 ซ.

การปกครอง แบ่งออกเป็น 16 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อ. เมือง อ. เชียงของ อ. เวียงป่าเป้า อ. เทิง อ. ป่าแดด อ. พาน อ. เวียงชัย อ. แม่จัน
อ. เชียงแสน อ.แม่สาย อ. แม่สรวย อ. พญาเม็งราย อ. เวียงแก่น อ. ขุนตาล อ. แม่ฟ้าหลวง อ. แม่ลาว กิ่ง อ. เวียงเขียงรุ่ง และกิ่ง อ. ดอยหลวง



คำขวัญประจำจังหวัด เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา

ดวงตราประจำจังหวัด รูปช้างสีขาว

ดอกไม้ประจำจังหวัด พวงแสด

ต้นไม้ประจำจังหวัด กาสะลองคำหรือปีบทอง


กลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงราย

พื้นที่ของ จังหวัดเชียงรายมีกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ทั้งตามที่ราบและบนดอยสูง ซึ่งชนแต่ละกลุ่มจะมีศาสนา ประเพณี และ วัฒนธรรมแตกต่างกันไปตามแต่วิถีดั้งเดิมที่บรรพบุรุษได้ปฎิบัติสืบทอดกันมา โดยประชากรในเชียงรายสามารถจำแนกออกเป็นชนชาติต่าง ๆ ดังนี้

คนเมือง เป็นกลุ่มชนใหญ่ที่สุด ในอดีตถูกเรียกว่าไทยวน หรือลาวพุงดำ ผู้ชายมีรูปร่างโปร่งบางกว่าคนไทยภาคกลางเล็กน้อย ส่วนผู้หญิงมีรูปร่าง ผิวพรรณ และหน้าตางดงาม ชาวไทยมีภาษาพูดต่างไปจากไทยภาค กลางเล็กน้อย และมีตัวหนังสือเฉพาะ แต่ปัจจุบันได้ทันมาใช้ภาษาไทยกลางแทน อาศัยอยู่ในชาวบ้านเรือนยกใต้ถุนสูง หน้าจั่วมีไม้ไขว้สลักลวดลายเรียกว่า กาแล ชาวไทยวนส่วนมากประกอบอาชีพทำการเกษตร และก็มีฝีมือทางการช่างและการหัตถกรรม
ไทลื้อ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้ำโชง และตอนกลางของแขวงไขยบุรีในลาว
ไทเขิน เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำขิ่น รัฐฉานของพม่า แล้วอพยพเข้ามาอาศัยอยู่บิรเวรดอยแม่สลองชื่อไทยเชินเพี้ยนมาจากไทขึนหรือไทขิ่นนั่นเอง
ไทใหญ่ เรียกตัวเองว่าไต ส่วนคนเมืองเรียกว่า เงี้ยวและชาวพม่าเรียกว่า ฉาน เพราะมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในรัฐฉาน ผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนไทยภาคกลาง ผู้หญิงมีผิวคล้ำกว่าชาวพม่ามีภาษาพูดแตกต่างจากคนเมืองและไทยภาคกลางเล็กน้อย แต่มีภาษาเขียนของตนเอง ชาวไทใหญ่ทำนา ทำไร่ และค้าขาย มีฝีมือทางหัตถกรรม ได้แก่ ทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา และแกะสลัก
อีก้อ เรียกตัวเองว่าอาข่า รูปร่างเล็กแต่แข็งแรงล่ำสันผิวสีน้ำตาลอ่อน หยาบกร้าน มีภาษาพูดคล้ายภาษามูเซอและลีซอไม่มีตัวอักษรใช้ ผู้หญิงนิยมไว้ผมยาวแต่รวบผมไว้ แล้วใส่หมวกทับ คอสวมเครื่องประดับ ใส่เสื้อผ้าสีดำ ผู้ชายโกนหัวไว้ผมเปีย ชาวอาข่านิยมตั้งบ้านเรือนอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1200 ม.ขึ้นไปยังชีพด้วยการทำไร่เลื่อนลอย อาข่านับถือผี มีเสาชิงช้าและลานสาวกอดอยู่หน้าหมู่บ้าน
มูเซอ เรียกตัวเองว่าลาหู่ มีรูปร่างสันทัด ผิวสีน้ำตาลอ่อน ชอบกินหมาก มีภาษาพูดเฉพาะ แต่ไม่มีตัวอักษรใช้ แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ หลายกลุ่มตามลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง ชาวมูเซออาศัยบนภูเขาสูงอยู่ในบ้านยกพื้นสูง ยังชีพด้วยการทำไร่เลื่อนลอย และเป็นชนเผ่าที่ชำนาญการล่าสัตว์เป็นอย่างมาก
เย้า เรียกตัวเองว่าเมี่ยน รูปร่างและผิวพรรณคล้ายคลึงกับคนจีนมาก ความสูงโดยเฉลี่ยจะเท่ากับคนไทยทั่วไป มีนิสัยขยันขันแข็งและทรหดอดทน มีภาษาจีนเช่นกัน ไม่มีตัวอักษรใช้ต้องยืมอักษรจีนมาใช้เขียนเป็นของตนเองและอ่านออกเสียงเป็นภาษาเย้า ชาวเย้ามักตั้งบ้านเรือนอยู่บนไหล่เขา ทำไร่ข้างโพด ตีเหล็ก เย็บปักถักร้อย และทำเครื่องเงิน
กะเหรี่ยง ผู้ชายรูปร่างสันทัด แข็งแรง ส่ำสัน ช่วงเขาใหญ่ ชาวกะเหรี่ยงแบ่งย่อยออกไปหลายเผ่า ภาษามีความใกล้เคียงกัน แต่ก็ไม่สามารถเข้าใจกันได้ ชาวกะเหรี่ยงมักตั้งบ้านเรือนแบบถาวร อาศัยการทำนาและปลูกพืชไร่ มีทั้งที่ยังนับถือผี และหันมานับถือศาสนาพุทธและคริสต์
ลีซอ เป็นชนเผ่าที่มีสีผิวขาวกว่าเผ่าอื่น หน้าตากว้างกลม มีภาษาพูด แต่ไม่มีภาษาเขียน ผู้หญิงนิยมเกล้ามวยไว้ท้ายทอย เวลามีงานพิธีจะโพกหัวและสวมห่วงเงินไว้ที่คอ ชาวลีซอนิยมตั้งบ้านเรือนในที่สูงกว่าอีก้อและมูเซอ ยังชีพด้วยการปลูกข้าวโพด และชำนาญทางล่าสัตว์
แม้ว เรียกตัวเองว่าม้ง ท่าทางและลักษณะการพูดจะคล้ายคนจีน ผู้ชายค่อนข้างสูง ผู้หญิงรูปร่างสมส่วน ม้งไม่มีภาษาพูดที่แน่นอน ส่วนใหญ่ยืมภาษาอื่นมาใช้ บ้านม้งสร้างติดดินบนภูเขาสูง โดยยึดอาชีพทำไรข้าว ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ตีเครื่องเงินและเย็บปักถักร้อย ส่วนใหญ่นับถือผี แต่ก็มีผู้หันมานับถือศาสนาพุทธและคริสต์อยู่บ้าง
จีนฮ่อ เป็นกลุ่มชนชาวจีนที่เป็นอดีตทหารกองพลที่ได้หลบหนีการปราบปรามของจีนคอมมิวนิสต์ผ่านทางพม่าเข้ามายังประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2493-2499 มีวัฒนธรรมของตนเองใช้พาษาจีนกลางแชะกวางตุ้ง ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่บนเขตพื้นที่เขาของ จ. เชียงราย โดยเฉพาะบนดอยแม่สลองประกอบอาชีพหลักด้วยการทำการเกษตรและค้าขาย นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ ลัทธิขงจื้อ และศาสนาอิสลาม

1 ความคิดเห็น: